
เม็ดเลือดแดงประกอบด้วยฮีโมโกลบินซึ่งเป็น complex molecule ที่มี heme เป็นส่วนประกอบให้อะตอมของธาตุเหล็กจับกับออกซิเจนเพื่อส่งไปทั่วร่างกาย โดยออกซิเจนสามารถแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงได้อย่างอิสระ นอกจากนี้แล้ว ฮีโมโกลบิน ยังจับกับของเสียที่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนกลับมาจากเนื้อเยื่อได้อีกด้วย (ในมนุษย์พบว่าออกซิเจนน้อยกว่า 2% และคาร์บอนไดออกไซด์เกือบทั้งหมด อยู่ในพลาสมา) สารที่ใกล้เคียงกันอย่าง myoglobin ทำหน้าที่เป็นที่เก็บออกซิเจนในเซลล์กล้ามเนื้อ
สีแดงของเลือดมาจากเม็ดเลือดแดง และสีแดงของเม็ดเลือดแดงมาจากหมู่ heme ของ ฮีโมโกลบิน โดยที่พลาสมาเปล่าๆ นั้นมีสีน้ำตาลอ่อน อย่างไรก็ดี สีของเม็ดเลือดแดงอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสถานะของ ฮีโมโกลบิน คือ เมื่อจับกับออกซิเจนจะได้ oxyhemoglobin ซึ่งมีสีแดง และเมื่อไม่จับกับออกซิเจนจะได้ deoxyhemoglobin ซึ่งมีสีคล้ำ ซึ่งเมื่อมองผ่านเส้นเลือดจะเห็นมีสีเขียวหรือน้ำเงิน เครื่องมือที่เรียกว่า pulse oxymetry ใช้ข้อมูลนี้ในการวัดปริมาณความเข้มข้นของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงจากการเปลี่ยนแปลงของสี ซึ่งมีข้อดีคือสามารถวัดปริมาณความเข้มข้นของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงได้โดยไม่ต้องทำการเจาะเส้นเลือด
เม็ดเลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เม็ดเลือดแดงที่โตเต็มที่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนั้นไม่มีนิวเคลียส นั่นคือไม่มี DNA ในขณะที่เม็ดเลือดแดงของสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆ แทบทุกชนิดต่างมีนิวเคลียสทั้งสิ้น นอกจากนั้นแล้ว เม็ดเลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยังไม่มีออร์แกเนลล์ ซึ่งรวมถึงไมโทคอนเดรีย และสร้างพลังงานโดยการหมักผ่าน glycolysis ของน้ำตาลกลูโคสทำให้ได้กรดแลกติกเป็น product นอกจากนั้นแล้ว เม็ดเลือดแดงยังไม่มี insulin receptor ทำให้การนำกลูโคสเข้าเซลล์ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน และเนื่องจากการไม่มีนิวเคลียสและออร์แกเนลล์นี้เอง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถสร้างโปรตีนโครงร่างใหม่ หรือเอนไซม์ใหม่ได้ จึงมีอายุจำกัด
เม็ดเลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีลักษณะแบน บุ๋มตรงกลาง หากมองจากด้านข้างจะมีลักษณะคล้ายดัมเบล รูปร่างเช่นนี้ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนกับสิ่งแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างเพื่อให้สามารถลอดผ่านหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ได้
ม้ามเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บสำรองของเม็ดเลือดแดง แต่หน้าที่นี้ไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่นักในมนุษย์ ในขณะที่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น เช่น สุนัข หรือม้า ม้ามทำหน้าที่เก็บเม็ดเลือดแดงจำนวนมากไว้สำหรับนำเข้าสู่กระแสเลือดในภาวะกดดันต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้มากขึ้น
เม็ดเลือดแดงของมนุษย์
มนุษย์ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีเม็ดเลือดแดงอยู่ในร่างกายประมาณ 20-30 ล้านล้านเซลล์ ผู้หญิงจะมีเม็ดเลือดแดงประมาณ 4-5 ล้านเซลล์ต่อไมโครลิตร (ลูกบาศก์มิลลิเมตร) ผู้ชายจะมีเม็ดเลือดแดงประมาณ 5-6 ล้านเซลล์ต่อไมโครลิตร และคนที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำ เช่น ในที่สูง ก็อาจมีปริมาณเม็ดเลือดแดงมากกว่านี้ได้ เม็ดเลือดแดงเป็นเม็ดเลือดที่พบมากกว่าเม็ดเลือดชนิดอื่นๆ มาก นั่นคือ ในหนึ่งไมโครลิตรของเลือดมนุษย์ จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่เพียงประมาณ 4,000-11,000 เซลล์ และมีเกล็ดเลือดอยู่ประมาณ 150,000-400,000 เซลล์ เซลล์เม็ดเลือดแดงทั้งหมดในร่างกายมีธาตุเหล็กอยู่ประมาณ 3.5 กรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณธาตุเหล็กในเนื้อเยื่ออื่นถึงกว่าห้าเท่า
องค์ประกอบของเม็ดเลือดแดง
เม็ด เลือดแดงในกระแสเลือดเป็นเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียส ผิวของเม็ดเลือดแดงจะมีสารจำพวกโปรตีนแทรกอยู่ซึ่งทำให้แยกเป็นหมู่เลือด ชนิดต่างๆ ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดงคือฮีโมโกลบิน (hemoglobin) มีลักษณะเป็นโปรตีนที่จับกับเหล็กละลายอยู่ภายในเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบินนี้เองที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีสีแดง และทำให้เม็ดเลือดแดงสามารถจับกับออกซิเจนและขนส่งออกซิเจนไปตามกระแสเลือด ได้ ถ้าเอาฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงของผู้ใหญ่ที่เป็นคนปกติมาศึกษาดูจะพบว่า ฮีโมโกลบินประกอบด้วยสายของโปรตีนอยู่จำนวนสี่สาย สายโปรตีนนี้เรียกว่าโกลบิน (globin) ซึ่งแยกย่อยได้อีกเป็น 2 ชนิด คือชนิดบีตา (β, beta) และแอลฟา (α, alpha) อย่างละสองสาย ล้อมรอบส่วนที่จับกับเหล็ก ส่วนที่จับเหล็กของฮีโมโกลบินมีชื่อเรียกเฉพาะว่าฮีม (heme) ทำให้เกิดเป็นชื่อของฮีโมโกลบิน (รุปที่ 2) ขึ้น หลังจากที่เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุถูกกำจัดโดยตับและม้าม ฮีโมโกลบินจะถูกย่อยออกและนำส่วนที่เป็นประโยชน์เช่นส่วนที่เป็นเหล็ก กลับมาใช้ใหม่

โรค ที่เกิดกับเม็ดเลือดแดง ที่พบได้บ่อยมากคือโรคเลือดจางซึ่งหมายถึงการที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อย กว่าปกติ ซึ่งโรคเลือดจางก็สามารถจำแนกได้อีกมากมายหลายชนิด เช่นเกิดจากการที่ร่างกายได้รับธาตุเหล็กหรือสารอาหารต่างๆ ที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ทำให้อัตราการสร้างของเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรืออาจเกิดจากการที่มีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงไม่ทันกับการใช้งาน ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะโรคเลือดที่พบได้บ่อยๆ ในประเทศไทย
โรคเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กโรค เลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นโรคโลหิตจางที่พบได้บ่อยแต่รักษาได้ไม่ยากนัก อาจมีสาเหตุได้มากมายเช่นได้รับธาตุเหล็กจากสารอาหารไม่พอเช่นในคนที่ไม่กิน เนื้อสัตว์ หรืออาจจากการเสียเลือดจากร่างกายติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่นเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง เป็นโรคริดสีดวงทวาร หรือมีประจำเดือนคราวละมากๆ หรือบ่อยกว่าปกติ โดยที่ไม่ได้ทำการรักษา ทำให้ร่างกายต้องเสียธาตุเหล็กไปมากกว่าที่ได้รับจากอาหาร หากได้รับการรักษาโรคที่เป็นพื้นฐานดังกล่าวแล้วอาการของโรคเลือดจางเหล่า นี้ก็จะหายไป หรือในผู้ที่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอก็สามารถรักษาได้โดยการกินอาหารที่มี ธาตุเหล็กมากขึ้น หรือใช้ยาเสริมธาตุเหล็กซึ่งปัจจุบันมีราคาไม่แพง โรคเลือดจางที่เกิดจากการขากธาตุเหล็กก็จะหายไปได้
โรคเลือดจางที่เกิดจากความผิดปกติของฮีโมโกลบินโรค เลือดจางธาลัสซีเมีย ท่านผู้อ่านบางท่านอาจเคยได้ยินมาก่อน โรคเลือดจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขอย่างมากสำหรับ ประเทศไทย เนื่องจากเป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากจากพ่อแม่ไปยังลูกได้ ซึ่งบางครั้ง ทั้งพ่อและแม่ไม่มีอาการของโรค แต่ลูกที่เกิดมาสามารถมีอาการรุนแรงได้ เนื่องจากรับเอาความผิดปกติทั้งจากพ่อและแม่มารวมไว้ ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือมากก็ได้ขึ้นอยู่กับประ เภทของธาลัสซีเมียที่เกิดขึ้น โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวกับการสร้างสายโปรตีน โกลบินที่เป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบิน ซึ่งถ้ามีความผิดปกติที่เกิดจากการสังเคราะห์สายแอลฟ่า ก็จะเรียกว่าแอลฟ่าธาลัสซีเมีย ถ้าเกิดความผิดปกติของการสังเคราะห์ที่สายเบต้า ก็จะเรียกว่าเบต้าธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมียยังสามารถเกิดร่วมกับโรคที่มีความผิดปกติของฮีโมโกลบินอื่นๆ ได้อีก ซึ่งในประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานสามารถพบโรคที่มีความผิดปกติ ของฮีโมโกลบินได้บ่อย ซึ่งหากป่วยเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมียแล้วเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยเหล่านี้ จะมีการแตกหรือถูกทำลายได้มากกว่าปกติ ถ้ามีอาการมากอาจทำให้การเจริญเติบโตช้าลงอย่างมาก อาจต้องได้รับเลือดจากภายนอก ผลของการได้รับเลือดจากภายนอกก็คือทำให้มีเหล็กที่อยู่ในเม็ดเลือดที่ได้รับ เพิ่มเข้าไปสะสมอยู่ภายในร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆ เสื่อมสภาพและอาจเสียชีวิต ต้องใช้ยาขับเหล็กส่วนเกินออก ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมได้ผลิตยาขับเหล็กชนิดรับประทานออกมาจำหน่ายในราคา ที่ถูกลงอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านสามารถช่วยกันลดการเกิดโรคธาลัสซีเมียได้โดยการตรวจ เลือดก่อนการสมรส หรือแนะนำให้คู่สมรสทำการตรวจเลือดก่อนที่จะมีบุตร
นอกจากโรคเลือดจางที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยังมีโรคเลือดจางอีกหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น